Choose Language

Road Diary 4: It's the Wild, Wild, West




“The American West is a place that has to be seen to be believed, and it may have to be believed in order to be seen."
- Kiowa poet N. Scott Momaday –

จาก ลาส เวกัส เราผ่านไปถ่ายภาพที่เขื่อนฮูเวอร์กันนิดหน่อย ร้อนแบบมหาร้อนตามเคย คนเยอะมากเลยรีบๆ ถ่ายรูป รีบๆ ขึ้นรถ แล้วก็มุ่งหน้าดินแดนทะเลทรายที่หมายมั่นปั้นมือนักหนา


ถนนเส้นชมวิวสาย UT-9 เป็นเส้นที่สวยมากๆ เราผ่าน Virgin River Gorge ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Glen Canyon และ Vermillion Canyon



เอ็น สก็อต มาโมเด กวีอินเดียนแดงเผ่าคิโอวากล่าวไว้ว่า ดินแดนอเมริกันตะวันตกเป็นที่ที่ต้องเห็นเองกับตาถึงจะเชื่อ และในขณะเดียวกันก็เป็นที่ที่ต้องมีความเชื่อก่อนถึงจะได้เห็น


การไปเยือนดินแดงตะวันตกคราวนี้นอกจากความทึ่งในธรรมชาติอันอลังการที่เก็บกลับมาเต็มกระเป๋าแล้วยังมีคำถามอีกร้อยแปดพันเก้าตามมาด้วย

เชื่อว่าเราท่านหลายคนคงจะเหมือนกับตัวเอง ที่เคยชินกับภาพดินแดนตะวันตกในแบบหนังคาวบอยที่มีจอห์น เวน เป็นพระเอก และอินเดียนแดงที่ใส่ขนนกอยู่บนหัวกับผ้าเตี่ยวเต้นหยองแหยง ร้องว้าวๆๆๆ ทาหน้า ทาตาน่ากลัว และมักจะเป็นผู้ร้ายที่บุกปล้นหมู่บ้านคนขาวและถลกหนังหัวเป็นที่ระลึก ภาพเหล่านี้กลายเป็นสัญญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของอเมริกา ก็รู้แค่นั้น

แท้ ที่จริงแล้วเรื่องราวของดินแดนตะวันตกของทวีปอเมริกา จนกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอเมริกามีเรื่องราวซับซ้อนเหลือคณา คนพื้นเมืองที่เราเรียกว่าอินเดียนแดง (ที่แท้เชื่อว่าอพยพมาจากแถบทวีปเอเซียหรืออาจจะอพยพจากทางนี้ไปก็ยังสรุป ไม่ค่อยได้ ในสมัยยุคน้ำแข็ง) มีมากมายหลายเผ่า แต่ละเผ่ามีวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างกัน

และ ที่สำคัญ คนเหล่านี้ก็ตกเป็นเหยื่อของคนขาวในยุคล่าอาณานิคมมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับ ชนพื้นเมืองทั่วโลก (ไม่ว่าจะเป็นในออสเตรเลีย เอเซียอาคเนย์ หมู่เกาะทะเลใต้) ดังนั้นเล่าสามเดือนก็ไม่มีวันจบ

แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเป็นแดนเถื่อนและการต่อสู้เพื่อดำรงชนชาติก็ยังดำเนินไป เพียงแต่ต่างรูปแบบ การแก่งแย่งดินแดนก็ยังคงมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเผ่า ระหว่างคนขาวและเผ่า ปัจจุบันแม้คนอินเดียนหลายเผ่าใหญ่ๆ จะได้รับการรับรองจากรัฐบาลกลางให้เป็นชาติอิสระ (Indian Nations) มีที่อยู่ในดินแดนแยกอยู่เป็นเอกเทศ (Reservations) ได้รับสัมปทานให้ทำกิจการผูกขาดอย่าง การพนัน การท่องเที่ยว สำหรับพื้นที่บางแห่ง แต่เท่่าที่สังเกตดู มาตรฐานการครองชีพของคนจำนวนมากยังดูต่ำอยู่มาก

ด้วยความที่อยู่ใน อเมริกา ก็เลยย่ามใจไม่คิดว่าจะเจอขนบธรรมเนียมที่ต่างไป และมักภูมิใจในความเข้าใจวัฒนธรรมหลากหลายของตัวเอง ปรากฏว่าคราวนี้หน้าแตกอย่างจัง เพราะลืมอ่าน (หรืออ่านแล้วลืม) เรื่องคนอินเดียนไม่ชอบให้ถ่ายภาพ (ต้องขออนุญาตเค้าอย่างสุภาพๆ ก่อน หรือให้ตังค์แล้วขออนุญาต) เกือบแย่ แฮ่ะๆ

ดิน แดนที่เราไปคราวนี้ (แถบแกรนด์แคนย่อนทางเหนือ และ Monument Valley ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐอริโซน่า) อยู่ในเขตของคนเผ่านาวาโฮ (Navajo) หรือ ดิเน่ (Dineh / Dinneh / Dine - คนนาวาโ่ฮเรียกตัวเองอย่างนั้น) คนนาวาโฮมีภาษาเป็นของตัวเอง (ยากมาก ออกเสียงไม่ได้เลย ซับซ้อน – ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกาใช้ทหารชาวนาวาโฮเป็นคนส่งรหัสลับ – Code Talkers เืพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นแปลได้) มีดินแดนใหญ่ที่สุดในบรรดาดินแดนอินเดียนในอเมริกาและมีประชากรถึงสาม แสนกว่าคน

ไปเจอสารคดีเรื่อง The West ของ Ken Burns คำนำเค้าดีมาก ขอคัดลอกมาอธิบายภาคภาษาอังกฤษค่ะ

Message from Film makers (Ken Burns’ The West): Ken Burns & Stephen Ives
“In a conversation with us several years ago, the Kiowa poet N. Scott Momaday remarked that the American West "is a place that has to be seen to be believed, and it may have to be believed in order to be seen." For five years we have travelled that landscape, photographed its vistas, talked to its people, sought out its history, all as part of our production of THE WEST, an eight-part documentary series for public television.

Now -- 100,000 air-miles and 72 filmed interviews and 74 visits to archives and collections and more than 250 hours of film later -- we have begun to understand at least something of what Momaday meant.

In the West, everything seems somehow larger, grander, than life, and we now can see why so many different peoples have come to consider their own most innermost lives inextricably linked with it. Over the centuries, the West has been the repository of the dreams of an astonishing variety of people -- and it has been on the long, dusty roads of the West that these dreams have crisscrossed and collided, transforming all who travelled along them, rewarding some while disappointing others.

The story of the West was once told as an unbroken series of triumphs -- the victory of "civilization" over "barbarism," a relentlessly inspirational epic in which greed and cruelty were often glossed over as enterprise and courage. Later, that epic would be turned upside down by some, so that the story of the West became another -- equally misleading -- morality tale, one in which the crimes of conquest and dispossession were allowed to overshadow everything else that ever happened beyond the Mississippi. The truth about the West is far more complicated, and much more compelling.

America without the West is unthinkable now. Yet there was nothing inevitable about our taking it. Others had prior claim to its vastness, after all, and we could quite easily have remained forever huddled east of the Mississippi. In resolving to move west and become a continental nation we would exact a fearful price from those already living on the land. But we also became a different people, and it is no accident that that turbulent history -- and the myths that have grown up around it -- have made the West the most potent symbol of the nation as a whole, overseas as well as in our own hearts.”



ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.indigenouspeople.net/nightcha.htm

http://www.pbs.org/weta/thewest/program/
http://www.californiaindianeducation.org/famous_indian_chiefs/

http://www.planetozkids.com/oban/legends-people/navajo-clans-culture-indigenous-people-of-north-america.htm


No comments:

Post a Comment