Choose Language

Road Diary 2 - California Dreamin' (แคลิฟอร์เนียดรีมมิ่ง)


California Dreamin’


ด้วยความเหมาะสมของการวางแผนเส้นทาง เราเริ่มขาแรกของการเดินทางบนเส้นทางเลียบชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย (Pacific Coast Highway/ Highway 1) ดินแดนสวรรค์ของผู้รักแสงแดด เกลียวคลื่น วิถีชีวิตส่วนใหญ่สบายๆ ไม่เร่งร้อนเท่าทางตะวันออก แถมด้วย pop culture ที่สุดโต่ง – ซึ่งจริงๆ แล้วในแง่การแนะนำประเทศอเมริกาดูจะไม่ค่อยถูกลำดับเท่าใดนัก … เนื่องจากเพื่อนเกิดอาการ culture shock และคลื่นเหียนความเลี่ยนของแหล่งจับนักท่องเที่ยวต่างๆ จนน่าตกใจ – จนต้องปลอบประโลม ค่อยๆ เล่าที่มาที่ไปให้คลายเครียด

ที่ว่าไม่ถูกลำดับนั้นก็ตรงที่ว่า คนที่มาจากทางบ้านเราส่วนใหญ่มีพื้นฐานความรู้เรื่องวัฒนธรรมและอารยธรรม ทั้งตะวันออกและตะวันตกของโลกเก่าที่สืบสานกันมายาวนาน (โลกเก่า) และเคยชินกับการท่องเที่ยวเพื่อชื่นชมประวัติศาสตร์และซากอารยธรรมเหล่านั้น

ส่วน อเมริกา คือ โลกใหม่ – แม้ว่าโคลัมบัสจะพบอเมริกาในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. ๒๐๓๕) แต่การจับจองตั้งถิ่นฐานในอเมริกาและการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพิ่งประกาศ อิสระภาพจากอังกฤษเพิ่งมาเมื่อ 235 ปีที่ผ่านมานี้เอง - 4 กรกฏาคม ค.ศ. 1776 (พ.ศ. ๒๓๑๙ - เทียบได้กับช่วงประมาณสองปีหลังจากที่อาณาจักรล้านนาพยายามเป็นอิสระจากการ ยึดครองพม่าโดยเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ เพื่อขอให้ช่วยทำศึกขับไล่พม่า) หลังจากนั้นมาอเมริกาก็ผ่านการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นานาในการสร้างประเทศใหม่ ตั้งแต่นั้น

การเคลื่อนไหวประกาศอิสระภาพของกลุ่มรัฐเมืองขึ้นอังกฤษ ในอเมริกา 13 รัฐ (13 colonies) ได้รับการจุดชนวนขึ้นที่เมืองบอสตั้น (Boston Massacre) ในปี ค.ศ. 1775 – ทั้ง 13 รัฐอยู่ทางฝั่งตะวันออก

ก่อนที่เพื่อนจะมาเยี่ยมทางตะวันตกก็ไปอยู่นิวยอร์คและท่องเที่ยวทางตะวัน ออกอยู่หลายเดือน เค้าชอบนิวยอร์คและบอสตั้นมาก – ซึ่งจะว่าไปแล้วก็คงไม่น่าแปลก เพราะสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม และวิถี คงจะใกล้เคียงกับยุโรปมากกว่าที่อื่นๆ ในประเทศ แต่ยังแฝงจิตวิญณาณของโลกใหม่ไว้ได้อย่างแนบเนียน

ดังนั้น ถ้าหากต้องการจะตามรอยการแผ่ขยายอาณาเขตของประเทศอเมริกาให้ถูกต้องก็ต้อง เริ่มจากตะวันออกก่อน แล้วข้ามแม่น้ำมิสซิสซิปปี้มาทางตะวันตก ผ่านดินแดนที่คนพื้นเมือง (อินเดียน) อยู่ แล้วค่อยมาจบลงที่ฝั่งตะวันตก ที่เพิ่งจะบูมขึ้นมาจากการตื่นทองในแคลิฟอร์เนียเมื่อปี ค.ศ. 1849- (พ.ศ. ๒๓๙๒–ช่วงสงครามเชียงตุงในสมัยรัชกาลที่ ๓) จนกระทั่งแคลิฟอร์เนียกลายเป็นรัฐหนึ่งในสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ.1850 (พ.ศ.๒๓๙๓) ซึ่งเป็นเวลาแค่ 161 ปีที่ผ่านมานี้เองเท่านั้น แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ เริ่มแถวนี้ก็ต้องเข้าใจแถวนี้ก็แล้วกัน

คำว่า “แคลิฟอร์เนีย” ในสมัยก่อน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เคยหมายถึงบริเวณพื้นที่ในทวีปอเมริกาเหนือที่สเปนถือครอง ซึ่งปัจจุบันคือรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย แคลิฟอร์เนีย เนวาด้า อริโซน่า ยูท่าห์ โคโลราโด้ทางตะวันตก และ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐไวโอมิง (บางแห่งก็เห็นว่ารวมไปถึง รัฐเท็กซัส นิวเม็กซิโก) ด้วย หลังจากนั้นเป็นดินแดนของเม็กซิโกเรื่อยมาหลังจากเม็กซิโกประกาศอิสรภาพจาก สเปนในปี 1821

ในปี 1846 อเมริกาทำสงครามกับเม็กซิโกเรื่องดินแดน ไม่นานหลังจากนั่นมีคนกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือที่เมืองโซโนม่า (Sonoma) ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ เรียกตัวเองว่า สาธารณรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน ในที่สุดอเืมื่อเมริกาชนะสงคราม แม็กซิโกจึงต้องยกดินแดนอัลต้าแคลิฟอร์เนีย (Alta California) ให้สหรัฐฯไป (สนธิสัญญา Guadalupe Hidalgo) ซึ่งชายฝั่งตะวันตกกลายเป็นรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นรัฐที่ 30 ของสหรัฐฯ เมื่อ 9 กันยายน 1850

ปัจจุบัน แคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นที่สามของสหรัฐฯ (4 แสนกว่า ต.ร.ก.ม.) รองจากอลาสก้า และเท็กซัส โดยมีพื้นที่ประมาณเกือบเท่าประเทศไทย (5 แสนกว่าต.ร.ก.ม.) และเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐฯ (37 ล้านคน) มีเมืองหลวงคือ ซาคราเมนโต้

ตั้งแต่ยุคตื่นทองเมื่อช่วงปี 1850 เป็นต้นมา แคลิฟอร์เนียก็เป็นรัฐที่เป็นผู้นำในด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเทคโนโลยี ปัจจุบันขุมทองของแคลิฟอร์เนียคือผู้นำทางเทคโนโลยีอยู่ที่ ซิลิคอนแวลลีย์ ที่เมืองพาโลอัลโต้ อยู่ไม่ไกลจากซานฟรานซิสโกไปทางใต้ อุตสาหกรรมภาพยนต์และบันเทิงที่ฮอลลีวู้ด ทั้งยังเป็นแหล่งเกษตรกรรมปลูกพืชผักผลไม้และผลิตไวน์ที่ใหญ่ที่ใหญ่ที่สุด ในอเมริกาด้วย

แคลิฟอร์เนียเป็นที่เต็มไปด้วยสปิริตของการผจญภัย ชีวิต Outdoor และความเป็นไปได้อย่างไม่จบสิ้น...

เส้นทาง

วันที่ 1 - จากซานฟรานซิสโก ขับลงไปทางสายเลียบชายฝั่งหมายเลข 1 (Highway 1 หรือ Pacific Coast Highway /PCH) เที่ยว มอนเตอร์เรย์ ถิ่นของนักเขียนชื่อดัง จอห์น สไตเบค ที่เขียนหนังสือดังอย่าง Of Mice and Men, Cannery Row, เที่ยว Monterey Bay Aquarium ที่เป็นศูนย์วิจัยทางทะเลที่ใหญ่ ก้าวหน้าและสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


อีกที่หนึ่งที่มีชื่อเสียงคือ 17-Mile Drive ที่อยู่ใกล้กับมอนเทอร์เรย์


เสร็จแล้วขับรถต่อลงไปแวะทานอาหารกลางวันหรือบ่ายที่เมืองคาร์เมล (Carmel by the Sea) เมืองเล็กๆ น่ารักที่เคยมี คลิ้นท์ อิสวู้ดเป็นนายกเทศมนตรี เมืองสำหรับคนชอบช้อปปิ้ง หรือถ้าสนใจประวัติศาสตร์ ก็ควรไปชมโบสถ์ Mission San Carlos Borroméo del río Carmelo**



แล้วขับเลยต่อลงไปชมสะพานบิกซ์บี้ (Bixby Bridge) ที่จะลงไปบิกเซอร์​ (Big Sur) ที่เป็นสัญญลักษณ์ที่รู้จักกันคุ้นตาของเส้นทางสาย 1 นี้

Bixby Bridge
Big Sur
แล้วพักค้างคืนที่เมืองบุลตั้น (Buellton) ซึ่งอยู่ใกล้ทั้ง Solvang และ Santa Barbara -- ที่พักที่ชอบมาก สะดวก สะอาด ราคาประหยัด คือ Motel 6 Buellton #62 ที่อยู่ตรงข้ามกับ ร้านอาหาร The Hitching Post (ที่เป็นฉากในหนังเรื่อง Sideways) พอดี



วันที่ 2

ขับรถไปทานอาหารเช้า เดนนิชเบเกอรี่ ที่โซลแวง (Solvang) เมืองเล็กๆ ที่มีคนเชื้อสายเดนนิชและดัชอยู่เยอะ เมืองก็น่ารักดี


แล้วขับต่อไปทานข้าวเที่ยงและชมเมืองซานตา บาบาร่า เมืองน่ารัก อีกเมือง ที่มีสถาปัตยกรรมอิทธิพลสเปนที่สวยงาม

คืนที่สองนี้ เราจะนอนค้างที่ ลอส แองเจลิส -- หลังทานอาหารเย็น ถ้าอยากทานอาหารและขนมไทย ก็ต้องที่ Thai Town แล้วไปเดิน Hollywood Walk of Stars


แล้วก็ Santa Monica Pier


วันที่ 3
เช้า ไปเดินขึ้นเขาถ่ายป้ายฮอลลีวู้ด


สายๆ ไปเที่ยว Universal Studio



แล้วค่ำๆ ขับรถไปนอน Anaheim เลือกโรงแรมที่อยู่ตรงข้ามดิสนีย์แลนด์ เพื่อวันรู่งขึ้นจะได้เข้าไปดิสนีย์แลนด์ได้สะดวก

วันที่ 4
ดิสนีย์แลนด์ ทั้งวัน กลางคืนดู พลุ และนอนที่ Anaheim อีกหนึ่งคืน


วันที่ 5
ขับรถต่อลงไปตาม Pacific Coast Highway (PCH) ต่อ ผ่านเมืองเล็กๆ น่ารัก มุ่งหน้าสู่ ซานดิเอโก้
ผ่านเมืองเล็กๆ ต่างๆ น่าสนใจ อย่าง Laguna Beach เมืองตากอากาศเก่าแก่, Laguna Del Mar เมืองน่ารักริมทะเล น่านั่งปิกนิก


ค่ำ ก็ถึง ซานดิเอโก้ แวะไปถ่ายภาพ Balboa Park สวนสาธารณะ สถาปัตยกรรมสวยงาม



แล้วหาที่พักแถวในเมือง ค่ำๆ ไปทานข้าวแถว Gas Lamp District


วันที่ 6
เที่ยว Sea World



เมืองเก่าซานดิเอโก้ เมืองหลวงเก่าของแคลิฟอร์เนีย



พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวง USS Midway


เย็นนอนที่ซานดิเอโก้ อีกคืน ก่อนเดินทางมุ่งหน้าสู่ทะเลทรายในวันรุ่งขึ้น

ตอนต่อไป Road Diary 3 - From Missions to Sin City (จากเมืองคนบุญ สู่แดนคนบาป)

**Mission San Carlos Borroméo del río Carmelo, also known as the Carmel Mission (Note: to elaborate: is a Roman Catholic mission church in Carmel, California. It is on the National Register of Historic Places and a U.S. National Historic Landmark. It was the headquarters of the original upper Las Californias Province missions headed by Father Junípero Serra from 1770 until his death in 1784).

The name California once referred to a large area of North America claimed by Spain that included much of modern-day Southwestern United States and the Baja California peninsula. Beginning in the late 18th century, the area known as Alta California, comprising the California territory north of the Baja Peninsula, was colonized by the Spanish Empire as part of New Spain. In 1821, Alta California became a part of Mexico following its successful war for independence. Shortly after the beginning of the Mexican-American War in 1846, a group of American settlers in Sonoma declared an independent California Republic in Alta California. Though its existence was short-lived, its flag became the precursor for California's current state flag. American victory in the war led to the Treaty of Guadalupe Hidalgo, in which Mexico ceded Alta California to the United States. Western areas of Alta California became the state of California, which was admitted as the 31st state on September 9, 1850.

California is by far the most populous U.S. state, and the third-largest by land area (after Alaska and Texas). It is home to eight of the nation's 50 most populous cities (Los Angeles, San Diego, San Jose, San Francisco, Fresno, Sacramento, Long Beach and Oakland). The capital city is Sacramento.

Even now, California, though in quite a critical financial crisis, is still brimming with golden opportunities and endless possibilities.

No comments:

Post a Comment