Choose Language

Road Diary 9: The Gold Rush



ออกจากโยเซมิติกัน เราก็มุ่งหน้าสู่ทางตะวันตกตามเส้นทางสาย 49 ไปสู่ดินแดนขุดทองกันแถบ Sonora County ค่ะ ที่ๆ บริเวณนี้มีเมืองเล็ก เมืองน้อยที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์สมัยตื่นทองมากมาย แต่ที่ๆจะพาไปเที่ยวนี่เป็นอุทยานประวัติศาสตร์โคลัมเบีย (Columbia State Historic Park) ที่เค้าจำลองเมืองสมัยนั้นมาไว้ให้นักท่องเที่ยวชมกันค่ะ หลังจากนั้นเราก็ไปแวะเมืองซาคราเมนโต้ เมืองหลวงของแคลิฟอร์เนียส่วนที่เป็นเมืองเก่า แล้วก็กลับบ้านซะที

ขอบคุณที่ตามไปเที่ยวด้วยกันกับทริปยาวนานนี้ค่ะ ^^

ไปเจอเรื่องราวของยุคตื่นทองจากผู้จัดการออนไลน์เลยคัดลอกมา (และปรับปรุงความถูกต้องเล็กน้อย) ให้อ่านเล่นกันเป็นสังเขปค่ะ

"Gold! Gold! Gold from the American River!" "ทอง ทอง ทองคำจากลำน้ำอเมริกัน" เป็นข้อความที่ Samuel Brannan อดีตนักหนังสือพิมพ์และพ่อค้าผู้นับถือนิกายมอร์มอน (Mormon) วิ่งไปตะโกนไปในซานฟรานซิสโก เพื่อยืนยันข่าวลือเรื่องการพบทองคำในสายน้ำในแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1848 ทำให้เขากลายเป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดในช่วงต้นของยุคตื่นทองในแคลิฟอร์เนีย Brannan เปิดร้านขายของอยู่ข้างๆ โรงไม้ของ John Sutter ซึ่งเป็นนายทหารชาวสวิสพ่อค้าไม้รายใหญ่ที่เข้ามาตั้งรกรากในอเมริกา Brannan สังเกตว่า คนงานจากโรงไม้นำทอง มาแลกกับสินค้าของเขา เขาจึงมั่นใจว่าการค้นพบทองคำในดินแดนตอนกลางของแคลิฟอร์เนียนั้นเป็นเรื่อง จริง เขาได้กว้านซื้ออุปกรณ์เหมืองแร่จนหมดเมือง ทำให้เขาเป็นพ่อค้ารายใหญ่ในการจำหน่ายอุปกรณ์ขุดทองให้กับเหมืองต่างๆ เรียกได้ว่า Brannan รวยกว่าคนทำเหมืองในช่วงแรกๆ ของยุค

แร่ทองคำ ค้นพบครั้งแรกในดินแดน แคลิฟอร์เนียอย่างบังเอิญ เมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ.1848 (พ.ศ. 2391) โดย James Marshall ผู้รับเหมาก่อสร้างโรงไม้ให้กับ John Sutter สังเกตเห็นเศษโลหะเงาวาวสีทองที่ปนมากับน้ำจากแม่น้ำอเมริกัน ระหว่างการสร้างโรงไม้ เขาจึงนำความไปบอกแก่ Sutter ซึ่งขณะนั้น Sutter เองก็ตื่นเต้นไม่น้อย แต่ด้วยความที่ไม่อยากให้ธุรกิจค้าไม้ของตนเองต้องหยุดชะงัก เขาจึงสั่งให้ Marshall ปิดเรื่องนี้เป็นความลับ...หากแต่ความลับไม่มีในโลก ไม่ช้าข่าวลือเรื่องทองคำในแม่น้ำอเมริกันก็เริ่มหนาหูมากขึ้นจน Brannan เดินทางมาพิสูจน์ด้วยตนเองและเป็นผู้ยืนยันการค้นพบดังกล่าวตามข้อความข้างต้น

จาก นั้นด้วยเวลาเพียงไม่กี่เดือน ผู้คน จากทั่วสารทิศต่างหลั่งไหลเข้ามาเสี่ยงโชค "ขุดทอง" เป็นจำนวนมาก โดยจุดหมายปลาย ทางอยู่ที่ดินแดนแถบหุบเขาโคโลมา (Coloma Valley) ซึ่งอยู่ตอนกลางของแคลิฟอร์เนีย ไม่ไกลจากซานฟรานซิสโกนัก ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของ Sacramento เมืองหลวงของแคลิฟอร์เนีย เรื่อยขึ้นไปถึง Sierra Nevada และตอนเหนือ ของแคลิฟอร์เนีย แม้กระทั่งซานฟรานซิสโก จากหมู่บ้านเล็กๆ ยังกลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากผู้คนได้ละทิ้งเมืองพากันไปขุดทอง และในปี 1849 (พ.ศ. 2392) มีนักแสวงโชคจากทั่วโลกนับพันคนมาถึงจุดหมายปลายทางเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยผู้คนที่อยู่ในอเมริกาเอง ชาวเม็กซิกัน ชาวจีน ชาวฝรั่งเศส ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี ชาวตุรกี และชาติอื่นๆ อีกหลายชาติ ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้รับสมญานามว่า "forty- niners" หรือบางทีเห็นจะเป็นตัวย่อ "49ers" ตามปี 1849 นั่นเอง

"forty-niners" ต้องเสี่ยงภัยข้ามน้ำข้ามทะเล ใช้เวลาเดินทางนับหลายเดือน พวกเขาไม่ได้มามือเปล่า ต่างขนสินค้าจากบ้านเมืองตนเองเข้ามาขายด้วย เช่น ผ้าไหม เครื่องภาชนะลายครามจากเมืองจีน เบียร์จากสกอตแลนด์ เป็นต้น ซานฟรานซิสโกจึงกลายเป็นศูนย์รวมผลิตภัณฑ์นานาชาติ และเรือร้างที่ลูกเรือปล่อยทิ้งไว้ เพราะต่างมุ่งหน้า สู่ดินแดนทองคำ ทำให้พ่อค้าท้องถิ่นเข้ามาจับจองเรือที่ไร้เจ้าของ ปรับเปลี่ยนเป็นคลังสินค้า โรงแรม ร้านค้า หรือแม้กระทั่งเรือนจำ ต่อมาเรือเหล่านี้ก็ถูกทำลายและใช้ถมท่าให้เป็นแผ่นดิน เพื่อให้เมืองมีพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้มากขึ้น ซึ่งส่วนใจกลางเมืองของซานฟรานซิสโกสร้างอยู่บนซากเรือจากยุคตื่นทองนั่นเอง ซานฟรานซิสโก เงียบอยู่ไม่นาน เพียงไม่กี่ปีถัดมากลายเป็นเมืองท่าที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากประชากรเพียงพันคนเพิ่มขึ้นเป็นนับแสนคน ดินแดนในแถบตะวันตกของทวีปอเมริกาจึงเต็มไปด้วยผู้คนจากต่างสัญชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ในขณะที่ชาวพื้นเมืองอเมริกันดั้งเดิมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกรุกราน ทำลายไปอย่างมาก

ระหว่าง การค้นพบทองคำ เมืองแคลิฟอร์เนียยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเม็กซิโก ที่ดูแลโดยกองทัพอเมริกัน เป็นผลจากสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน หลังจากเซ็นสนธิสัญญายุติสงคราม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1848 แคลิฟอร์เนียกลายมาเป็นดินแดนในการครอบครองของชาติอเมริกา เนื่องจากแคลิฟอร์เนียยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจน ทองคำที่ถูกพบจึงเป็นเสมือนสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถครอบครองได้โดยไม่ ต้องมี การเสียภาษี ขึ้นทะเบียน หรือเสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่กระนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่คือคนทำเหมืองนั่นเอง ได้พยายามออกกฎระเบียบในการทำเหมือง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการผูกขาด และครอบครองเขตแดนการทำ เหมืองมากเกินไประหว่างบรรดานักแสวงโชค ที่มาในรุ่นแรกๆ เป็นการให้โอกาสผู้ที่มาทีหลัง ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจในแคลิฟอร์เนียเริ่มผงาดจากการตื่นทอง ทำให้สามารถดูแลตัวเองได้และได้รับการสถาปนาเป็นรัฐที่ 31 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ.1850 (พ.ศ. 2393)

หลังจากที่มีการค้นพบ ทองคำมากขึ้น หนทางที่จะนำแร่ล้ำค่ามาใช้ได้นั้นมีหลายวิธี เริ่มตั้งแต่ใช้ทองคำแทนเงิน เพื่อแลกอาหาร จ่ายค่าที่พักอาศัย และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการเอาธนบัตรมาแลกทองคำ นักขุดทองในยุคนั้นกลายเป็นเศรษฐีส่งทองกลับประเทศของตัวเองได้มากมาย เช่น ทองคำในฝรั่งเศส ในยุคนั้นส่วนใหญ่มาจากเหมืองทองในแคลิฟอร์เนีย ส่วนพ่อค้าบางรายที่ตั้งรกรากอยู่ในซานฟรานซิสโกได้ก่อตั้งโรงงานผลิตเหรียญ ทองคำเอง โดยซานฟรานซิสโกมีโรงกษาปณ์โรงแรกในปี 1854 และในปีแรกที่ทำการผลิตเหรียญทองคำเป็นมูลค่าถึง 4,084,207 เหรียญสหรัฐ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามาช้านาน

ที่มา: http://www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=68301


No comments:

Post a Comment