Choose Language

Monday, August 6, 2012

Soliloquy

"To be or not to be -- that is the question."

I took this photo and processed it this way a while ago. Yet the scene has not spoken to me until a few days ago when this title flashed into my mind. This smooth sea, punctuated by decaying docks, surrounded by heavily vignetted corners is like an experience of peering through a keyhole into someone's deep thoughts or dreams. And when talking about "soliloquy"** -- the most famous one springs forth. -- that of Hamlet's. It's truly amazing how life's experience shed light into work of art. I remember how painful it was to memorize these verses in my younger days -- It was painful because being young you can't live life through the pain of Hamlet's and you can't understand the gravity of the words that translate his pain and dilemma. Anyway, it's just a thought that crossed my mind one quiet afternoon ;). I sifted through "Youtube" to find good delivery of the soliloquy and found this one that I like of David Tennant's. He's great and I can feel all the pain coming through his performance which is less acted.
Unfortunately, it was pointed out to me that the above version omitted quite a few verses in the middle, so here's a more complete one by Kenneth Branagh. 
 
A monologue from the play "HAMLET" by William Shakespeare

HAMLET: To be, or not to be--that is the question:
Whether 'tis nobler in the mind to suffer
The slings and arrows of outrageous fortune
Or to take arms against a sea of troubles
And by opposing end them. To die, to sleep--
No more--and by a sleep to say we end
The heartache, and the thousand natural shocks
That flesh is heir to. 'Tis a consummation
Devoutly to be wished. To die, to sleep--
To sleep--perchance to dream: ay, there's the rub,
For in that sleep of death what dreams may come
When we have shuffled off this mortal coil,
Must give us pause. There's the respect
That makes calamity of so long life.
For who would bear the whips and scorns of time,
Th' oppressor's wrong, the proud man's contumely
The pangs of despised love, the law's delay,
The insolence of office, and the spurns
That patient merit of th' unworthy takes,
When he himself might his quietus make
With a bare bodkin? Who would fardels bear,
To grunt and sweat under a weary life,
But that the dread of something after death,
The undiscovered country, from whose bourn
No traveller returns, puzzles the will,
And makes us rather bear those ills we have
Than fly to others that we know not of?
Thus conscience does make cowards of us all,
And thus the native hue of resolution
Is sicklied o'er with the pale cast of thought,
And enterprise of great pitch and moment
With this regard their currents turn awry
And lose the name of action. -- Soft you now,
The fair Ophelia!

**A soliloquy (from Latin: "talking by oneself") is a device often used in drama whereby a character speaks to himself or herself, relating his or her thoughts and feelings, thereby also sharing them with the audience. Other characters however are not aware of what is being said. A soliloquy is distinct from a monologue or an aside: a monologue is a speech where one character addresses other characters; an aside is a (usually short) comment by one character towards the audience. Soliloquies were frequently used in dramas but went "out of fashion" when drama shifted towards realism in the late 18th and 19th century. The plays of William Shakespeare feature many soliloquies, the most famous being the "To be or not to be" speech in Hamlet. In Richard III and Othello, the respective villains use soliloquies to entrap the audience as they do the characters on stage. Macbeth's "Tomorrow and tomorrow" speech and Juliet's "O Romeo, Romeo, wherefore art thou Romeo?" are other famous examples of Shakespearean soliloquies. (Though Juliet's speech is overheard by Romeo, she believes that she is alone with her thoughts, making her speech a soliloquy.) - from wikipedia

ถ่ายภาพนี้ไว้นานพอสมควรแล้วล่ะค่ะ แต่ว่าไม่มีเรื่องราวสะดุดใจน่านำมาเล่า (ให้ตัวเองฟัง) จนกระทั่งวันนึง หัวเรื่องนี้แว่บเข้ามาในใจ เพราะว่า ณ เวลานั้น ภาพนี้ให้ความรู้สึกว่าเรากำลังมองผ่านรูกุญแจเข้าไปในฝัน หรือในห้วงคิดคำรึงของใครซักคนจริงๆ พอพูดถึงคำว่า "โซลิโลควี" หรือบทรำพึงรำพัน ที่เป็นเทคนิคที่เด่นมากในบทประพันธ์ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ คนก็มักจะนึกไปถึงสองสามบทที่โด่งดัง หนึ่งในนั้นก็คือจากเรื่อง แฮมเล็ต น่าแปลกที่บทประพันธ์ตอนนี้แม้จะเพราะด้วยสำนวนภาษา แต่ว่าสมัยเรียนเมื่ออายุน้อยๆ นั้น เราหาเข้าใจถ่องแท้ถึงความเจ็บปวดจากบาดแผลของชีวิต (ซึ่งทุกคนย่อมต้องมี มากบ้าง น้อยบ้าง ต่างกันไป) ที่แฮมเล็ตเผชิญอยู่ไม่ ก็ท่องกันไปเป็นนกแก้วนกขุนทอง จนกระทั่งเวลาผ่านไป มาบัดนี้บทเรียนหลากหลายของชีวิตทำให้เราเข้าใจมันได้ดีขึ้นมาก ข้อความไพเราะเหล่านี้ จึงให้ความประทับใจที่ใหม่เอี่ยมทีเดียว ไปค้นหาในยูทูป เจอของคนนี้ค่ะ เห็นว่าเป็นคนแสดงบทนี้ที่กำลังดัง รู้สึกชอบจัง เค้าเล่นได้สมจริง ร่วมสมัย ไม่ "แอ้คท์เ้อ้าท์" หรือดูเป็นละค้อน ละครมากอย่างเวอร์ชั่นก่อนๆ ก็แค่อยากเล่าเรื่องจากภาพน่ะค่ะ ^^ 

---------------------------------------------- 

ข้อมูล: สำหรับบทรำพึงรำพันที่โด่งดังนี้ เป็นตอนที่แฮมเล็ตพร่ำรำพันขึ้นเมื่อพบกับโอฟิเลีย แต่ต้องแกล้งทำเป็นบ้า “To be or not to be, that is the question” แฮมเล็ตตั้งคำถามว่า คนเรามีทางเลือกอยู่สองทางคือ อยู่หรือตาย ทำไมคนเราจึงต้องทนอยู่ทนทุกข์กับความปวดร้าวในชีวิต มิสู้ตายไปดีกว่า เพราะการตายคือการหลับ และในการหลับเราได้ยุติความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่จะเกิดแก่ร่างกายเลือดเนื้อและจิตใจตน ทว่าหากการตายคือการหลับ ในการหลับมีการฝัน แต่ใครรู้บ้างเล่าว่าในความหลับใหลแห่งความตายนั้น เราจะต้องพบพานความฝันอะไรบ้าง และความไม่รู้นี่แหละที่ทำให้คนหวาดกลัวความตาย และยอมทนต่อการกดขี่ข่มเหง ความอยุติธรรม ความผิดหวัง ความเหนื่อยยาก เรายอมทนทุกข์ในสิ่งที่เรารู้ ดีกว่าหนีไปหาสิ่งที่เราไม่รู้..." from charnsak.multiply.com 

เรื่องย่อ แฮมเล็ต

แฮมเล็ตเป็นเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก พ่อซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ก่อนเสียชีวิตลง และอา (คลอเดียส์) ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน พร้อมกับอภิเษกกับราชินีหม้าย (แม่ของแฮมเล็ต) อยู่มาวันหนึ่งวิญญาณของกษัตริย์องค์ก่อนก็ปรากฎกายให้ แฮมเล็ตเห็น พร้อมกับเล่าสาเหตุแห่งการตายของตนว่าถูกคลอเดียส์ลอบวางยาพิษ แล้วขอให้ลูกชายแก้แค้นแทน เพราะเนื่องจากตายโดยมิได้สารภาพบาป จึงจำต้อง อยู่ในนรกแทนที่จะได้ขึ้นสวรรค์ แฮมเล็ตไม่แน่ใจว่าจะเชื่อวิญญาณที่อ้างว่าเป็นพ่อดีหรือไม่ จึงปรึกษากับเพื่อน โฮเรชิโอ ว่าตัวเองจะแกล้งทำเป็นเสียสติ และหาหลักฐานข้อเท็จจริงว่า คลอเดียสฆ่าพ่อของตัวหรือไม่ 

แฮมเล็ตหลงรักโอฟีเลีย ซึ่งเป็นลูกสาวของที่ปรึกษาคนสนิทของคลอเดียส แต่ทั้งพ่อและพี่ชายของโอฟีเลียไม่เห็นด้วย และบอกให้น้องสาวปฏิเสธแฮมเล็ตไปก่อน จนกว่่าแฮมเล็ตจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ ทุกคนกังวลกับอาการบ้าของแฮมเล็ต จนกระทั่งแฮมเล็ตสบช่องทางที่จะพิสูจน์ว่าคลอเดียส์ฆ่าพ่อหรือไม่ โดยให้นักแสดงละครเล่นละครตามบทที่แฮมเล็ตเขียนขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามที่วิญญาณได้มาเล่าให้ฟังว่าคลอเดียส์วางยาพิษตัวเองยังไง พอคลอเดียส์ได้ชมละคร ก็เกิดอาการส่อพิรุธ สั่งให้เลิกเล่น ก็เดินหนีหายไป แฮมเล็ตต้องการจะรู้ว่าแม่ของตัวนั้น สมรู้ร่วมคิดกับคลอเดียส์หรือไม่ จึงตามไปเพื่อหาความจริง ปรากฎว่าพบคลอเดียส์กำลังพึมพัมสารภาพบาปอยู่ตามลำพัง แฮมเล็ตจึงตัดสินใจยังไม่ลงมือสังหารคลอเดียส์ เพราะหากทำไปในขณะที่คลอเดียส์ได้สารภาพบาปแล้ว วิญญาณของคลอเดียส์ก็จะไปสู่สวรรค์ ไม่ตกนรกอกไหม้เหมือนพ่อ แฮมเล็ตจึงหลบออกไปหาแม่ เพื่อถามความจริง 

โพโลเนียส์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาคนสนิทของคลอเดียส์ และเป็นพ่อของโอฟีเลียนั้น ได้แอบอยู่หลังม่านในห้องของราชินี เพื่อสืบหาความจริงว่าแฮมเล็ตนั้น บ้าจริงหรือไม่ เมื่อพบแม่อยู่ในห้อง แฮมเล็ตก็คาดคั้นแม่ และพูดจาก้าวร้าวดูหมิ่นที่ยอมแต่งงานกับคลอเดียส์ หลังจากที่กษัตริย์องค์ก่อนเพิ่งเสียชีวิตไปได้ไม่นาน แฮมเล็ตสังเกตุเห็นพิรุธว่ามีคนแอบอยู่หลังม่าน และนึกว่าเป็นคลอเดียส์ จึงเอาดาบแทงสวนเข้าไป ทำให้โพโลเนียส์ตายทันที คลอเดียส์แค้นมาก วางแผนส่งแฮมเล็ตไปอังกฤษ พร้อมกับคำสั่งให้ฆ่าทิ้งเสียเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง แต่แฮมเล็ตหนีพ้นมาได้ และมุ่งกลับบ้าน คลอเดียส์จึงวางแผนให้พี่ชายของโอฟีเลียประลองดาบกับแฮมเล็ต เพื่อเป็นการแก้แค้นที่แฮมเล็ตฆ่าพ่อของตัว และได้เอาปลายดาบชุบยาพิษไว้ด้วย และคลอเดียส์ ยังได้วางแผนที่สองไว้เพื่อกันพลาด โดยจะหลอกให้แฮมเล็ตดื่มเหล้าผสมยาพิษ

ในขณะเดียวกัน โอฟีเลียก็เสียสติเพราะพ่อถูกฆ่า เพราะเสียสติไป โอฟิเลียจึงไปกระโดดน้ำตาย ทำให้พี่ชายของโอฟิเลียเสียใจมาก และยิ่งโกรธแค้นแฮมเล็ตมากขึ้น แฮมเล็ตเล่าให้โฮเรชิโอ(เพื่อนรัก)ฟังเรื่องแผนการของคลอเดียส์ที่ต้องการให้แฮมเล็ตถูกฆ่าตายเมื่อครั้งเดินทางไปยังประเทศอังกฤษ แต่ถูกแฮมเล็ตดัดหลัง และย้อนแผนส่งดาบคืนให้ คลอเดียส์ส่งคนมาแจ้งให้แฮมเล็ตรู้ว่า พี่ชายของโอฟิเลียจะขอประลองดาบ และถ้าแฮมเล็ตสามารถฟันให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บได้ภายในสามรอบแรก คลอเดียส์ก็จะให้รางวัลเป็นไข่มุกโดยจะใส่ไปในแก้วไวน์ ว่าแล้ว แฮมเล็ตก็สามารถทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บได้ คลอเดียส์จึงใส่ไข่มุลลงไปในแก้วพร้อมกับยื่นให้แฮมเล็ตดื่ม จริงๆ แล้ว ไข่มุกนั้นเคลือบยาพิษไว้ แต่เนื่องจากตื่นเต้นที่ชนะคู่ต่อสู้ได้ แฮมเล็ตจึงปฏิเสธิ แต่แม่ของแฮมเล็ตซึ่งอยู่ชมการประลองดาบด้วย ดีใจสุดๆ ที่เห็นลูกชายชนะได้ เลยคว้าแก้วไวน์จากมือของคลอเดียส์มาดื่มเสียเอง คลอเดียส์ไม่รู้ว่าจะห้ามอย่างไร จึงได้แต่ปล่อยเลยตามเลย 

แฮมเล็ตโดนปลายดาบที่อาบยาพิษของคู่ต่อสู้บาดเป็นแผล แต่ก็สามารถสวนกลับทำให้ดาบของคู่ต่อสู้กระเด็นมาตกใกล้ตัว แฮมเล็ตจึงเก็บดาบนั้นขึ้นมา แต่โดยไม่ตั้งใจ กลับโยนดาบของตัวเองคืนให้คู่ต่อสู้ เมื่อประลองดาบกันต่อ แฮมเล็ตก็ฟาดฟันคู่ต่อสู้ได้หลายแผล ทำให้ได้รับยาพิษที่ปลายดาบกันทั้งคู่ แต่แล้วก็ต้องหยุดต่อสู้เพราะแม่ของแฮมเล็ตล้มลงเนื่องจากยาพิษที่ดื่มเข้าไป ราชินีจึงบอกให้แฮมเล็ตรู้ว่า เธอได้รับยาพิษจากเหล้าไวน์นั่นเอง แล้วเธอก็ตาย พี่ชายของโอฟิเลียก็บอกแฮมเล็ตเช่นกันว่า เขาเองก็จะตายเพราะยาพิษจากปลายดาบ แฮมเล็ตยิ่งโกรธมากขึ้น หันมาฟันคลอเดียส์ด้วยดาบอาบยาพิษ พร้อมกับกรอกไวน์ที่ผสมยาพิษใส่ปากคลอเดียส์ ว่าแล้าทุกคนก็เสียชีวิตหมด เหลือเพียงโฮเรชิโอที่จะเล่าเรื่องให้คนนอกฟังได้